มีข่าวดีมาบอก ผู้กู้ กยศ. ทุกราย “กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา” ปรับโครงสร้างหนี้ เปลี่ยนกฎหมายใหม่ กยศ. “คำนวณยอดหนี้ใหม่” ลดเงินให้แล้วเหลือเท่าไร? เช็กเลย
ส่วนรัฐบาลเน้นย้ำผู้กู้ทุกรายต้องมีความรับผิดชอบ เป็นหนี้ต้องใช้หนี้ พร้อมเตรียมอัดงบประมาณปี 2568 เติมให้กองทุน กยศ. สร้างสภาพคล่องการเงินต่อไป
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ปรับเปลี่ยนกฎหมายใหม่ กยศ. ให้เป็นไปเพื่อสร้าง ecosystem เกิดการกู้ยืมที่เป็นธรรม ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่ระบบการเงินที่มีเสถียรภาพ ตามบทบาทของ regulator หนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมยืนยันว่าลูกหนี้ เมื่อเป็นหนี้ต้องใช้หนี้ แต่ต้องอยู่บนโครงสร้างที่เป็นธรรม
จากกรณีคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ได้กล่าวถึงผลการดำเนินงานของ กยศ. ที่พบว่าขาดสภาพคล่อง และมีลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้กว่า 9.7 หมื่นล้าน นั้น
ปัญหาการผิดนัดชำระหนี้แท้จริงแล้วมีต้นตอของปัญหาที่สะสมมานาน โดยรูปแบบการจ่ายต่องวดสูงขึ้นทุกปี มีเบี้ยปรับ 18% ต่อปี ทั้งที่ดอกเบี้ย 1% ต่อปี และมีลำดับการตัดจ่ายหนี้ ที่จ่ายเท่าไหร่ก็ไม่ถึงต้น
เปิดกฎหมายใหม่ กยศ. ปรับโครงสร้างหนี้ คำนวณยอดหนี้ ลดเงินให้แล้วเหลือเท่าไร?
- ในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายใหม่ จะเป็นประโยชน์ต่อลูกหนี้มากขึ้น
- กยศ. คำนวณยอดหนี้ใหม่ ทั้งการลดเบี้ยปรับจาก 18% เป็น 0.5% ต่อปี การปรับเพิ่ม/ทางเลือกจำนวนงวดจ่าย
- การปรับลำดับการตัดหนี้ให้ตัดเงินต้นก่อน
- ช่วยลดภาระเงินต้นคงค้าง เช่น จาก 2.1 แสนบาท เหลือ 5.1 หมื่นบาท
- ยกเลิกผู้ค้ำประกัน ยกระดับมาตรฐานของเจ้าหนี้ ที่ต้องรับผิดชอบและเป็นธรรม กรณีผู้กู้มีศักยภาพและอยู่ในวิสัยที่จะชำระเงินกู้เอง
กฎหมายใหม่ กยศ. เป็นประโยชน์กับใครบ้าง?
- กฎหมายใหม่ กยศ. เป็นประโยชน์ต่อผู้กู้ทุกราย 3.6 ล้านคน และผู้ค้ำประกัน 2.8 ล้านคน จะหลุดพ้นจากภาระ
- กรณีลูกหนี้ผิดนัดยังไม่ปิดบัญชี จะมียอดหนี้คงค้างลดลง
- ยุติการบังคับคดีทุกราย จนกว่าจะมีการคำนวนยอดหนี้ใหม่ โดย กยศ. มีหน้าที่ดำเนินการไม่ให้ขาดอายุความ
นโยบายของรัฐบาลต่อจากนี้ กับกองทุน กยศ. ในปี 2568
รัฐบาล เตรียมงบประมาณปี 2568 เติมให้กองทุน กยศ. เพื่อสภาพคล่องการเงินของกองทุนอย่างเหมาะสมต่อไป ช่วยเหลือเยาวชน ลดความเหลื่อมล้ำ ให้มีโอกาสทางการศึกษามากที่สุด เพราะเยาวชนเป็นกำลังหลักในการพัฒนาชาติ พร้อมเน้นย้ำผู้กู้ทุกรายต้องมีความรับผิดชอบ เมื่อเป็นหนี้ต้องใช้หนี้