ขอคืนภาษีปี 67 ไปแล้ว แต่ทำไมยังไม่ได้รับเงิน เริ่มจากการยื่นแบบเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการยื่นแบบกระดาษตามสำนักงานสรรพากรเขตต่างๆ ในปีภาษี 2566 จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 ปีภาษี 2566 ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 9 เมษายน 2567 เฉพาะแบบที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต
การยื่นขอคืนภาษี เป็นกระบวนการที่ทำได้ง่ายๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องออกจากบ้าน ทั้งนี้ เพียงแค่ทำตามขั้นตอนง่ายๆดังนี้
ขอคืนภาษีปี 67 มีวิธีการตรวจสอบอย่างไร ?
- ไปที่เว็บไซต์กรมสรรพากร หรือ คลิก https://www.rd.go.th/272.html
- คลิก “สอบถามการคืนภาษี (E-Refund)“
- คลิก “My Tax Account” เข้าสู่ระบบ กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และ รหัสผ่าน
- ยืนยันตัวตนของท่านด้วย รหัส OTP ผ่าน เบอร์โทรศัพท์มือถือ
- คลิก “ติดตามสถานะขอคืน/นำส่งเอกสาร”
- ดูสถานะเงินคืน และช่องทางรับเงิน (3 แบบ) หรือ เลือกเอกสารเพื่อนำส่งเพิ่มเติม
เงินคืนภาษี คืออะไร ใครขอคืนภาษีได้บ้าง
ในทุกปีประชาชนที่มีรายได้ทุกคนจะต้องยื่นภาษีกับทางกรมสรรพากร โดยมีการกำหนดอัตราเงินได้สุทธิ 150,000 บาทขึ้นไป โดยการที่จะได้ เงินคืนภาษี นั้น ผู้ที่มีสิทธิจะได้เงินภาษีคืนจะต้องถูกหักภาษีเกินกว่าที่ต้องจ่าย ที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไปล่วงหน้า แต่เมื่อถึงเวลายื่นภาษีกลับพบว่าตัวคุณเองมีรายสุทธิได้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต้องเสียภาษี ในกรณีนี้จึง สามารถยื่นขอเงินภาษีคืนได้
ขอคืนภาษี ผ่านช่องทางไหน
- บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวบัตรประชาชน
- บัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทยและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
- ผู้ขอคืนที่ไม่สามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กรมสรรพากรจะออกหนังสือ ค.21 (หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) พร้อมเช็ค โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่บนแบบแสดงรายการให้ผู้ขอคืน เพื่อนำไปเข้าบัญชีเงินฝากที่สาขาธนาคารเท่านั้น
สำหรับผู้ที่ยื่นภาษีไปแล้ว และมีเงินคืนจากการหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งได้ขอคืนภาษีไว้ และถึงวันนี้ยังไม่ได้รับเช็คคืนภาษีจากกรมสรรพากร ท่านสามารถเข้าไปตรวจสอบสถานะของการคืนภาษีได้ ว่าขณะนี้ถึงขั้นตอนไหน และทางกรมสรรพากรเรียกเอกสารเพิ่มเติมหรือไม่ เพราะมีบางท่านที่ยังไม่ได้รับเงินคืนเพราะยังไม่ได้ส่งเอกสารเพิ่มเติมตามที่กรมแจ้ง
เงินคืนภาษี กี่วันได้
การได้รับเงินคืนภาษีจากกรมสรรพากรนั้น โดยปกติจะใช้เวลาสูงสุดถึง 3 เดือน ขึ้นอยู่กับความชัดเจนและครบถ้วนของเอกสารที่ยื่นไป อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่มีปัญหาหรือข้อผิดพลาดใด ๆ คุณอาจได้รับเงินคืนไวที่สุดภายใน 3-4 วัน
ได้เงินภาษีคืนเท่าไหร่
การยื่นภาษีแล้วรับเงินคืน อาจเป็นเรื่องที่ดูซับซ้อนสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งานระบบนี้ แต่จริงๆ แล้วขั้นตอนไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด หลังจากที่คุณยื่นภาษีด้วยแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.90/91 ผ่านเว็บไซต์สรรพากร ระบบจะแสดงข้อมูลในขั้นตอนสุดท้ายว่าคุณมีสิทธิ์ได้รับเงินคืนเท่าไรในช่อง “ยอดภาษีสุทธิชำระไว้เกิน” คุณสามารถเลือกตั้งค่าขอคืนภาษีได้ทันที โดยการคลิกที่ปุ่ม “ต้องการขอคืน” ซึ่งหลังจากนั้นเว็บไซต์จะทำการส่งข้อมูลผลการขอคืนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่คุณได้ลงทะเบียนไว้ ทำให้คุณสามารถตรวจสอบและรู้ได้ทันทีว่าจะได้รับเงินคืนเท่าไร
วิธีขอคืนภาษี ต้องทำยังไง
ทั้งนี้ท่านสามารถเข้าไปตรวจสอบสถานะในเว็ปไซต์ของกรมสรรพากรที่ https://rdserver.rd.go.th/ แล้วคลิกที่เมนูบริการ ตรวจสอบสถานะการคืนภาษีและนำส่งเอกสาร ภ.ง.ด.90/91 ได้เลย
หลังจากคลิกเข้ามาจะพบหน้า “สอบถามข้อมูลการคืนภาษี” เพียงคลิก My Tax Account
กรอก เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือ ชื่อผู้ใช้งาน e-filing พร้อม รหัสผ่าน และ เลข Laser ID หลังบัตรประจำตัวประชาชน จากนั้นกด เข้าสู่ระบบ
เมื่อคลิกเข้าสู่ระบบแล้ว จะเจอหน้า ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP ผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือที่ใช้ปัจจุบัน หากมีเบอร์ใหม่ สามารถเลือกกรอกเบอร์ได้เลย คลิก ขอรหัส OTP
จากนั้นจะพบหน้าข้อมูลส่วนตัว ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ข้อมูลภาษี จากนั้นให้คลิกที่ ติดตามสถานะและส่งเอกสาร
เพียงเท่านี้ก็สามารถ ตรวจสอบสถานะการขอคืนภาษี ได้แล้ว
กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90, 91) ขอคืนภาษี และยังไม่ได้รับเงินคืน ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161 หรือ งานคืนภาษี สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ทั่วประเทศ
ยื่นภาษีผิดทำตามนี้
หากคุณยื่นภาษีออนไลน์ แล้วพบว่ามีข้อผิดพลาดในข้อมูล ไม่ต้องกังวล เพราะคุณสามารถแก้ไขและยื่นใหม่ได้ง่ายๆ ด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
- ล็อกอินเข้าสู่ระบบการยื่นภาษีอีกครั้ง และเตรียมกรอกข้อมูลใหม่ทั้งหมดที่ต้องการแก้ไข
- ระบบจะแจ้งเตือนว่าคุณได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ปีภาษีนี้ผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว หากต้องการยื่นเพิ่มเติม ให้กดปุ่ม “OK” หรือหากไม่ต้องการยื่นเพิ่มเติมให้กด “Cancel”
- กดปุ่ม “OK” เพื่อทำการยื่นภาษีใหม่ โดยข้อมูลที่คุณกรอกล่าสุดจะถูกนำมาใช้เป็นหลัก
ด้วยวิธีนี้ คุณสามารถแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดได้ตามต้องการ และยื่นภาษีใหม่อย่างถูกต้อง
Comment