กลับมาดูกันอีกครั้งกับ สินเชื่อ สร้างงานสร้างอาชีพ จากทางธนาคารออมสิน (GSB) ที่เป็นสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบอาชีพโดยมีวงเงินสูงสุดไม่เกิน 3 แสนบาท
ผลกระทบกับผู้ประกอบอาชีพบางประเภท ทางธนาคารออมสิน (GSB) จึงได้มีการออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่เมื่อปีที่ผ่านมากับ สินเชื่อ สร้างงานสร้างอาชีพ ที่มีการให้กูเได้ภายใต้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 3 แสนบาท
สินเชื่อออมสิน สร้างงานสร้างอาชีพ กู้สูงสุด 300,000 บาท ลงทะเบียน www.gsb.or.th มาตรการช่วยเหลือ “อาชีพอิสระ” ที่ได้รับความเดือดร้อน
สินเชื่อออมสิน “มาตราการสร้างงานสร้างอาชีพ” วงเงินให้กู้ 50,000 – 300,000 บาท ครอบคลุมกลุ่มอาชีพดังต่อไปนี้
สินเชื่อออมสิน สร้างงานสร้างอาชีพ กู้สูงสุด 300,000 บาท ลงทะเบียน gsb.or.th
ผู้ประกอบวิชาชีพช่าง
ผู้ประกอบการรายย่อย อาทิ จำหน่ายสินค้า online การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง การจัดดอกไม้ เป็นต้น
ผู้ขับขี่รถสาธารณะ
ผู้ประกอบการร้านค้าแฟรนไชส์
ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีสถานที่จำหน่ายที่แน่นอน เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง โชห่วย ฯลฯ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
หนี้เสียไทยพุ่ง 5.37 แสนล้านบาท จับตาสัญญาณ คนถูกยึดบ้าน-รถ เพิ่ม
แบงก์ชาติปรับเกณฑ์ใหม่ สกัดหนี้เสีย+ลดดอกเบี้ย2%
“ออมสิน” แจ้งลูกหนี้ตรวจสอบสิทธิ์พักหนี้ 6 เดือน ทำรายการบนแอป MyMo
สินเชื่อออมสิน สร้างงานสร้างอาชีพ กู้สูงสุด 300,000 บาท ลงทะเบียน gsb.or.th
เงื่อนไข สินเชื่อเงินกู้ออมสิน 300,000 บาท
1. มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
2. มีถิ่นที่อยู่อาศัย และ สถานประกอบการแน่นอน
3. ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ผู้บริหาร หรือกรรมการของธนาคารออมสิน
4. เป็นผู้เริ่มประกอบอาชีพ/ผู้ประกอบการรายย่อย/ผู้ประกอบการขนาดเล็ก/ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ที่ผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน ที่มีความน่าเชื่อถือ หรือ มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพดังกล่าวมาแล้ว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
4.1 ผู้เริ่มประกอบอาชีพ/ผู้ประกอบการรายย่อย ประกอบด้วย ผู้ที่ผ่านการอบรมอาชีพ “ช่าง” ทุกประเภท เช่น ช่างปูน ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่างซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย/ตัดผม เป็นต้น และ ผู้ที่ไม่ใช่ช่าง เช่น จำหน่ายสินค้า online การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง การจัดดอกไม้ เป็นต้น โดยมีใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานรัฐ/เอกชน หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ
4.2 ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ประกอบด้วย ผู้ขับขี่รถแท็กซี่/รถตู้สาธารณะ/รถรับจ้างขนส่งสินค้า โดยมีใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะ หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ
4.3 ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ประกอบด้วย ผู้ประกอบการที่มีสถานที่จำหน่าย หรือสถานที่ให้บริการ ที่แน่นอน เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง โชห่วย แฟรนไชส์ ร้านนวดแผนไทย ร้านสปา อู่ซ่อมรถ เป็นต้น โดยมีทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนการค้า สัญญาแฟรนไชส์ หรือเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของอื่นๆ
วิธีลงทะเบียน สินเชื่อเงินกู้ออมสิน สูงสุด 300,000 บาท
เข้าไปที่ www.gsb.or.th สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ
เลือก ยอมรับและปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไข
กรอกข้อมูลส่วนบุคคล
อัพโหลดเอกสารประกอบการขอสินเชื่อตามหมวดอาชีพของท่าน
ในส่วนของรายละเอียดของโครงการสินเชื่อ สร้างงานสร้างอาชีพ จากทางธนาคารออมสิน (GSB) นั้น มีด้วยกันดังนี้
1. ประเภท และวัตถุประสงค์ของสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ
สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ จากทางธนาคารออมสิน (GSB) นั้น จะเป็นสินเชื่อประเภทเงินกู้ระยะยาว (L/T) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเงินทุนเริ่มต้นในการประกอบอาชีพ หรือเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ และบรรเทาความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพจากซึ่งต้องไม่เป็นการนำไป Refinance สินเชื่อเช่าซื้อ
2. วงเงินกู้ประจำสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ
สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพนั้น มีวงเงินที่เปิดให้กู้ได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อราย โดยแยกตามกลุ่มอาชีพ ดังนี้
– ผู้ประกอบวิชาชีพช่าง เช่น ช่างปูน ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่างซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย / ตัดผม เป็นต้น จะได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท
– ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ใช่ช่าง เช่น จำหน่ายสินค้า online การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง การจัดดอกไม้ เป็นต้น จะได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท
– ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ประกอบด้วย ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ / รถตู้สาธารณะ / รถรับจ้างขนส่งสินค้า จะได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท
– ผู้ประกอบการร้านค้าแฟรนไชส์ จะได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท
– ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีสถานที่จำหน่ายที่แน่นอน เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง โชห่วย แฟรนไชส์ ร้านนวดแผนไทย ร้านสปา อู่ซ่อมรถ เป็นต้น จะได้รับวงเงินกู้ไม่เกิน 300,000 บาท
3. อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาชำระคืนเงินกู้จากสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ
สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพจะมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 3.99 ต่อปี (Effective Rate) ตลอดอายุสัญญากู้เงิน และมีกรอบเวลาในการชำระเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ปี (60 งวด) รวมกับระยะเวลาปลอดชำระเงินงวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 6 งวดแรก โดยเริ่มชำระตั้งแต่งวดที่ 7 เป็นต้นไป จนกว่าจะปิดบัญชีหรือครบสัญญา
4. หลักประกันการกู้สำหรับสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ
สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพจะแบ่งหลักเกณฑ์การใช้งานหลักประกันตามกรอบวงเงิน 2 ช่วงดังนี้
– กรณี วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ไม่มีหลักประกัน (Clean Loan)
– กรณี วงเงินกู้เกิน 100,000-300,000 บาท ใช้บุคคลค้ำประกัน โดยบุคคลค้ำประกันจะต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของวงเงินกู้
5. คุณสมบัติของผู้ขอกู้สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ
ผู้ที่มีความประสงค์ในการขอกู้สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพนั้น จะต้องมีหลักเหณฑ์ดังต่อไปนี้
– เป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
– มีถิ่นที่อยู่อาศัย และ สถานประกอบการแน่นอน
– ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ผู้บริหาร หรือกรรมการของธนาคารออมสิน
– เป็นผู้เริ่มประกอบอาชีพ / ผู้ประกอบการรายย่อย / ผู้ประกอบการขนาดเล็ก / ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ที่ผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยงานภาครัฐ / เอกชน ที่มีความน่าเชื่อถือ หรือ มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพดังกล่าวมาแล้ว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
ผู้เริ่มประกอบอาชีพ / ผู้ประกอบการรายย่อย ประกอบด้วย ผู้ที่ผ่านการอบรมอาชีพ “ช่าง” ทุกประเภท เช่น ช่างปูน ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่างซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย / ตัดผม เป็นต้น และ ผู้ที่ไม่ใช่ช่าง เช่น จำหน่ายสินค้า online การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง การจัดดอกไม้ เป็นต้น โดยมีใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานรัฐ / เอกชน หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ
ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ประกอบด้วย ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ / รถตู้สาธารณะ / รถรับจ้างขนส่งสินค้า โดยมีใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะ หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ
ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ประกอบด้วย ผู้ประกอบการที่มีสถานที่จำหน่าย หรือสถานที่ให้บริการ ที่แน่นอน เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง โชห่วย แฟรนไชส์ ร้านนวดแผนไทย ร้านสปา อู่ซ่อมรถ เป็นต้น โดยมีทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนการค้า สัญญาแฟรนไชส์ หรือเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของอื่นๆ
6. เอกสารที่ใช้งานประกอบการกู้สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ
การดำเนินการกู้สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ จะต้องมีการใช้งานเอกสารต่าง ๆ ที่ทางธนาคารออมสินต้องการประกอบการพิจารณา โดยเอกสารต่าง ๆ ที่ว่านั้น ก็จะแบ่งไปตามสายอาชีพและมีด้วยกันดังนี้
– ผู้ประกอบวิชาชีพช่าง
บัตรประชาชนผู้ขอกู้
ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
ใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานรัฐ / เอกชน หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ (ฉบับจริง)
รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)
– ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ใช่ช่าง
บัตรประชาชนผู้ขอกู้
ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
ใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานรัฐ / เอกชน หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ (ฉบับจริง)
รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)
– ผู้ขับขี่รถสาธารณะ
บัตรประชาชนผู้ขอกู้
ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
ใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะ (ฉบับจริง)
รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)
– ผู้ประกอบการร้านค้าแฟรนไชส์
บัตรประชาชนผู้ขอกู้
ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
เอกสารที่รับรองจากแฟรนไชส์ซอ เช่น สัญญาจะซื้อจะขาย / สัญญามัดจำ / หนังสือผ่านสิทธิ เป็นต้น
เอกสารประมาณการ รายรับ-รายจ่าย ของธุรกิจแฟรนไชส์ (ตัวอย่างแบบฟอร์มเอกสารตาม Link นี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำเอกสารในการยื่นขอกู้)
รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)
– ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีสถานที่จำหน่ายที่แน่นอน
บัตรประชาชนผู้ขอกู้
ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
บัญชีรับจ่าย / Statement รายได้จากสถานประกอบการ ย้อนหลัง 6 เดือน
ทะเบียนการค้า / ทะเบียนพาณิชย์ ของสถานประกอบการ
รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)
7. ระยะเวลาดำเนินโครงการสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ
ผู้ที่สนใจสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพสามารถดำเนินการยื่นเอกสาร ณ ธนาคารออมสิน โดยจะต้องอนุมัติและจัดทำนิติกรรมสัญญาให้ หรือจนกว่าวงเงินโครงการจะหมด (First Come First Serve)
ผู้ที่มีความสนใจ และมีความต้องการดำเนินการกู้ สินเชื่อ สร้างงานสร้างอาชีพ สามารถศึกษาข้อมูล – ดำเนินการได้ที่นี่ : ธนาคารออมสิน (GSB)