‘เฟิสต์ จ็อบเบอร์’ วัย Gen Z เริ่มใช้ชีวิตแบบจมกองหนี้ พึ่ง ‘บัตรเครดิต’ มีปัญหาทางการเงิน ในยุคที่เศรษฐกิจถดถอย เงินเฟ้อพุ่ง ดันยอดหนี้พุ่งสูงกว่า Gen Y ในวัยเดียวกันเมื่อ 10 ปีก่อน
ในปีนี้คนรุ่น Gen Z ที่อยู่ในช่วงอายุ 20 ต้นๆ กำลังเริ่มต้นเข้าสู่วัยทำงาน หรือ “เฟิร์ส จ็อบเบอร์” ไปพร้อมๆกับ “หนี้บัตรเครดิต” เพราะถ้าหากเทียบกับคนกลุ่ม Millennials หรือ Gen Y ที่เพิ่งเริ่มต้นวัยผู้ใหญ่หลังวิกฤเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (Great Recession) ในช่วงวัยเดียวกัน ถือว่า Gen Z ในปัจจุบันที่มีสภาพคล่องทางการเงินที่ “เลวร้าย”
บลูมเบิร์กเผยรายงานจากบริษัทข้อมูลเครดิตบูโร TransUnion ชี้ว่า กลุ่มผู้บริโภค Gen Z ซึ่งอยู่ในวัย 22 ถึง 24 ปี มีภาระหนี้สินและอัตราการผิดชำระหนี้สูงกว่าเด็กรุ่นใหม่เมื่อ 10 ปีก่อน ซึ่งคือกลุ่มวัยผู้ใหญ่ หรือ Gen Y ในตอนนี้ โดยหนี้ที่พุ่งสูงขึ้นครั้งนี้มาจากหนี้บัตรเครดิต หนี้อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่หนี้สินเชื่อนักศึกษา โดย Gen Z มีอัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้เฉลี่ย 16% เมื่อเทียบกับ Gen Y อยู่ที่ 12%
รวมทั้งสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง “ยอดคงเหลือเฉลี่ยในบัตรเครดิต” หรือ จำนวนเงินที่คุณใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตแล้ว แต่ยังไม่ได้ชำระคืนของคนรุ่น Gen Z ในอายุช่วง 20 ต้นๆ อยู่ที่ 2,834 ดอลลาร์ในปี 2566 หรือ 1 แสนดอลลาร์ ซึ่งหลังจากปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว ถือว่าสูงกว่ายอดคงเหลือเฉลี่ยของกลุ่ม Millennials วัยเดียวกันในปี 2556 ถึง 26%
‘เงินเฟ้อ’ทำให้เด็กวัยรุ่นมีปัญหาการเงิน
ยุคนี้ “เด็กรุ่นใหม่”ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ฟุ่มเฟือย” ไปกับสินค้าฟุ่มเฟือยเล็กๆ น้อยๆ แต่ความ “โชคร้าย” สองเท่าจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยหลังเกิดโรคระบาดและภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงในช่วงที่เด็กรุ่นใหม่กำลังเติบโต ได้ส่งผลกระทบทางการเงินอย่างหนักในช่วงเวลาที่สำคัญ นั่นคือ “ช่วงของการวางแผนการเงิน” ไปพร้อมๆกับค่าครองชีพที่สูงลิ่ว เช่น ค่าเช่าที่อยู่อาศัยซึ่งพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ยังส่งผลกระทบต่อรายจ่ายที่มากเกินไปของเด็กรุ่นใหม่
ชาร์ลี ไวส์ รองประธานอาวุโสของบริษัท TransUnion กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่เผชิญกับการใช้จ่ายในระดับสูง แต่ค่าแรงกลับไม่ได้ปรับเพิ่มตาม “ค่าเช่าที่อยู่อาศัยกัดกินเงินเดือนของพวกเขามากขึ้น ในขณะที่ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอย่างเช่นการกินนอกบ้านก็พุ่งสูงขึ้นเช่นกัน พวกเขาจึงต้องพึ่งพาบัตรเครดิตเพื่อใช้จ่ายเหล่านี้”
ไม่มีความรู้การเงิน หันพึ่ง “บัตรเครดิต”
ยิ่งไปกว่านั้นคือ เด็กรุ่นใหม่ในช่วงอายุ 20 ต้นๆ ถือว่ามีรายได้เฉลี่ยต่อปี 1.6 ล้านบาท ซึ่ง “น้อยกว่า” คนรุ่น Gen Y ขณะที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกันถึง 12.2% ที่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 1.8 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งหมายความว่าวัยรุ่นในยุคนี้มีค่าครองชีพที่แพงขึ้นทั้งๆที่เงินเดือนน้อยลง ทำให้ “บัตรเครดิต” เป็นตัวเลือกที่เด็กรุ่นใหม่เลือกใช้เพื่อชดเชยช่องว่างทางการเงินนี้
เศรษฐกิจในปี 2567 คนทุกวัยกำลังเอาตัวรอดในยุคที่ค่าครองชีพสูง และแน่นอนว่า Gen Z ไม่ใช่กลุ่มเดียวที่ต้องพึ่งพา “บัตรเครดิต” แต่ Gen Z กลับน่าเป็นห่วงเป็นพิเศษ เพราะมียอด “หนี้” ที่มากกว่า จากการพึ่งพาบัตรเครดิตเพื่อใช้ชดเชยช่องว่างทางการเงิน ส่งผลให้มีภาระหนี้สูง อัตราผิดนัดชำระหนี้สูงและความเสี่ยงทางการเงินสูง สะท้อนจากยอดคงเหลือในบัตรเครดิตและอัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้สูงกว่า Gen Y วัยเดียวกัน อยู่ที่ 26% และ 33% ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี กลุ่ม Gen Y ในประเทศไทยเองก็มีปัญหาทางการเงินและการบริหารจัดการหนี้ โดยเครดิตบูโร ระบุว่า Gen Y เป็นกลุ่มที่มี “หนี้เสีย” หรือหนี้ค้างชำระมากที่สุดในไตรมาส 1 ปี 2567 โดย Gen Y ถือสัญญาสินเชื่อบ้านที่เป็น NPL เท่ากับ 83,281 สัญญา คิดเป็นเงิน 1.24 แสนล้านบาท และค้างหนี้อีก 76,276 สัญญา รวม Gen Y เป็นหนี้เสียบ้านกว่า 50% หรือ 1.24 แสนล้าน
Comment